ป้องกันภัยเรื่องสุขภาพในช่วงฤดูร้อน ปี2567

                 ป้องกันภัยเรื่องสุขภาพในช่วงฤดูร้อน  ปี 2567 

เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันภัยเรื่องสุขภาพในช่วงฤดูร้อน  และผลกระทบของอากาศร้อนที่มีต่อสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก

และการป้องกันโรคติดต่อที่เกิดในช่วงฤดูร้อน ที่เกิดจากอาหารและน้ำ ก่อให้เกิดอาการต่าง ดังนี้

1.ผื่นจากความร้อน

    อาการ มีตุ่มคันขึ้นสีแดงเล็กๆ มักพบในที่อับชื้น

    สาเหตุ เกิดจากการระคายเคืองต่อผิวหนังจากเหงื่อที่ออกมาก

    การป้องกัน/รักษา อยู่ในที่อากาศเย็น เพื่อลดการเหงื่อออกอาบน้ำบ่อยๆ รักษาความสะอาดของผิว

2.บวมจากความร้อน

    อาการ บวม เฉพาะบริเวณเท้า มักเกิดในช่วง 2.3 วันแรก ที่สัมผัสอากาศร้อน

    สาเหตุ เกิดจากความร้อนทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว และมีสารน้ำคั่งอยู่ที่ข้อเท้าและขาทำให้เกิด

             อาการบวม

    การป้องกัน/การรักษา 1.อาการบวมสามารถหายเองได้

                              2.ไม่ควรใช้ยาขับปัสสาวะ

                              3.ควรพักผ่อนให้เพียงพอและนอนยกขาให้สูง

 3.ตะคริวจากความร้อน

    อาการ กล้ามเนื้อหดเกร็งฉับพลัน มันเกิดบริเวณหน้าท้อง แขนขา

    สาเหตุ เกิดจากการสูญเสียเกลือแร่ จากการเสียเหงื่อเป็นจำนวนมาก

    การป้องกัน/การรักษา 1.ควรพักทันที่ในที่ร่มและเย็น

                              2.นวดเบาๆตรงที่เป็นตะคริวสลับกับการยึดกล้ามเนื้อ

                              3..ดื่มน้ำสะอาดหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป

                              4.หากเป็นตะคริวนานเกิน 1 ชั่วโมงควรปรึกษาแพทย์

 4.เป็นลมแดด

    อาการ หน้ามืด  วิงเวียนหัว และเป็นลมหมดสติ พบบ่อยกับผู้ที่ไม่เคยชินกับอากาศร้อน

    สาเหตุ ร่างกายพยายามขับความร้อนส่วนเกินออก โดยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไป

              ผิวหนังทำให้เลือดไปหล่อเลี่ยงสมองไม่เพียงพอ

    การป้องกัน/การรักษา 1.ควรพักทันที่ในที่ร่มและเย็น นอนหงายลงกับพื้น เหยียด  แขน ขา

                              2.ใช้หมอนหรือสิ่งอื่นรองขา และเท้าให้สูงกว่าลำตัว

                              3.คลายเสื้อผ้าให้หลวม  ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า หรือบีบ นวดแขนขา

                              4.หากอาการไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ควรไปพบแพทย์

    5.เพลียแดด

    อาการ เหงื่อออกมาก อ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เวียนหัว สับสน มีนงง คลื่นไส้ อาเจียน  และอาจเป็นลม

    สาเหตุ เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่อากาศร้อนจัด ทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการเสียเหงื่อ เป็นจำนวนมาก และ

             เกิดภาวะขาดน้ำ

    การป้องกัน/การรักษา 1.ย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่ร่มและเย็น หรือสถานที่ที่มี เครื่องปรับอากาศ

                              2.ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออกเท่าที่จำเป็น เพื่อระบายความร้อน

                              3.จับผู้ป่วยนอนราบ ใช้หมอนหรือสิ่งอื่นรองขาให้สูงกว่าลำตัว

                              4. ห่มด้วยผ้าเปียกและใช้พัดลมเป่า วางถุงน้ำแข็งไว้ตาม คอ รักแร้และขาหนีบ

                              5.หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

alt






































 













QR code

อบต.บางแค




 

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค
หมู่ที่ 5 ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110
โทรศัพท์ : 034-772-538 โทรสาร : 032-772538 ต่อ 16
E-mail : bangkae034@gmail.com
 

 

นายกอบต : 081-7052361
สำนักปลัด : 034-772-538 

กองคลัง : 034-772-538 
กองช่าง : 034-772-538
กองสาธารณสุขฯ : 034-772-538
กองการศึกษาฯ : 034-772-538





ลิขสิทธิ์ © 2557 - 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค จังหวัดสมุทรสงคราม. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล